วิชาเทคโนโลยีการศึกษา(Educational Technology)
คำอธิบายรายวิชา
ความหมาย ขอบข่าย และความสำคัญของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาต่อการเรียนการสอน วิธีระบบ กระบวนการสื่อความหมาย การจำแนกประสเภทสื่อการเรียนการสอน การเลือก การแนะนำให้รู้จักเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาที่เหมาะสมกับการเรียนการสอน การจัดหา การใช้ การผลิต การประเมินผล และการเก็บรักษาสื่อการเรียนการสอน
ฝึกปฏิบัติผลิตสื่อหลักที่เหมาะสมกับสภาพของชั้นเรียน
วัตถุประสงค์ เมื่อนักศึกษาได้เรียนวิชานี้แล้วจะมีพฤติกรรมที่แสดงความสามารถได้ดังนี้
1. อธิบายความหมาย ขอบข่ายและความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอนได้
2. จำแนกประเภทและศักยภาพของสื่อการเรียนการสอนแต่ละชนิดได้ถูกต้อง
3. อธิบายถึงความสัมพันธ์ของจิตวิทยาการรับรู้ การเรียนรู้ กับการเลือกและการใช้สื่อการเรียนการสอนได้ถูกต้อง
4. อธิบายหลักการเลือก การดัดแปลง การผลิต และการใช้สื่อการเรียนการสอนได้ถูกต้อง
5. ผลิตสื่อการเรียนการสอนหลักที่เหมาะสมกับสภาพของห้องเรียนได้
บทความที่ 1
วิชาเทคโนโลยีการศึกษา
จุดประสงค์
1. ให้เข้าใจความหมาย ขอบข่าย และความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาต่อการเรียนการสอน
2.ให้เข้าใจจิตวิทยา การเรียนรู้ และการสื่อความหมาย ซึ่งเป็นพื้นฐานของการสอนและการใช้สื่อการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ
3.ให้เข้าใจประเภทและศักยภาพของสื่อการสอนแต่ละชนิด
4. ให้เข้าใจหลักการเลือก การดัดแปลง การผลิต และการใช้สื่อการเรียนการสอน
5.ให้เข้าใจการเลือกเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาที่เหมาะสมกับการเรียนการสอน
6. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสร้างสื่อการสอนโดยการป้อนข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์โดยการพิมพ์สัมผัสได้
บทความที่ 2
คำอธิบาย
รายวิชาความหมาย ข่อบข่าย และความสำคัญของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาต่อการเรียนการสอน วิธี ระบบกระบวนการสอนความหมาย การจำแนกประเภทของสื่อการเรียน การสอนการเลือก การแนะนำให้รู้จักเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาที่เหมาะสมต่อการเรียนการสอนการจัดหา การใช้ การผลิต การประเมินผล และการเก็บรักษาสื่อการเรียนการสอนฝึกปฎิบัติผลิตสื่อหลักที่เหมาะสมกับสภาพของชั้นเรียน
บทความที่ 3
แผนการสอน
จากการศึกษารายละเอียดวิชา ผู้เรียนจะศึกษาเนื้อหาครอบคลุมความหมายของเทคโนโลยี ตลอดจนวัสดุ อุปกรณ์ วิธีการ แกรบูรณาการ จากเนื้อหา 15 หน่วยการเรียนใช้เวลา 16 สัปดาห์ๆละ 4 ชั่วโมง รวม 60 ชั่วโมง
วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
บทความ
การศึกษาคือปัญหาของสังคม
โดย บุณย์เสนอ ตรีวิเศรษฐ์
มีการนิยามความหมายของการศึกษาไว้มากมาย เช่น การศึกษา คือ ความเจริญงอกงาม คือกระบวนการกำจัดอวิชาสำหรับมนุษย์ การนำความกระจ่างสู่จิตและทำให้เกิดปัญญาคือการสร้างสมและถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ของมนุษย์เพื่อการแก้ปัญหาและยังให้เกิดความเจริญ เป็นกระบวนการพัฒนาบุคคลทั้งในด้านจิตใจ นิสัย และคุณสมบัติอย่างอื่นๆ เป็นเครื่องมือสำคัญของรับในการสร้างความร่วมมือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของพลเมือง
และนิยามสำคัญที่กล่าวว่า การศึกษา คือรากฐานที่สำคัญที่สุดในการสร้างสรรค์และแก้ไขปัญหาต่างๆ ในสังคม
จากการเฝ้าสังเกต ความเป็นไปของการศึกษาไทยมากว่าทศวรรษ อาจกล่าวได้ว่าภาพที่เป็นจริงกับนิยามของการศึกษา มักเดินสวนทางกันตลอดมา ราวกับว่าการให้นิยามเป็นเพียงความนึกฝัน ที่ไม่มีวันเป็นจริง
ภาพสะท้อนของการศึกษาไทยในปัจจุบัน ยิ่งทำให้เห็นว่าการศึกษาไม่อาจเป็นกระบวนการพัฒนามนุษย์สู่ความเจริญงอกงามและสมดุลได้จริง ทั้งนี้ เพราะเนื้อตัวของการศึกษาเองก็มีปัญหาค่อนข้างมาก
การที่กล่าวว่า การศึกษาเป็นรากฐานในการสร้างสรรค์และแก้ไขปัญหาต่างๆ ในสังคม จึงเป็นเพียงหลักการ แต่ไม่อาจนำมาใช้แก้ไขปัญหาสังคมได้จริง
กล่าวอีกที การศึกษานั่นเองที่เป็นตัวบ่มเพาะปัญหาให้แก่สังคมมากขึ้นๆ ทุกที
การกล่าวเช่นนี้ บางคนอาจมองว่าเป็นการมองโลกในทางร้าย แต่ถ้าพิเคราะห์ให้ดีผลสะท้อนจากการศึกษา ก็มักปรากฏออกมาในทาง ที่เป็นปัญหาจริงๆ
โดยจะขอไล่เรียงอธิบายเป็นข้อๆ ดังนี้
1.การศึกษาสร้างปัญหาให้ผู้ปกครอง จริงหรือไม่ว่า นับวันระบบการศึกษายิ่งสร้างความเจ็บปวดรวดร้าวแก่ผู้ปกครองมากขึ้น
ปรากฏการณ์การรับนักเรียนเข้าเรียน ม.1 ของโรงเรียนที่มีชื่อเสียงทั่วประเทศในช่วงเวลาที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นปัญหาของระบบการศึกษาได้ดี
เราจะเห็นความโกลาหลของผู้ปกครอง ที่อยู่ในอาการหวั่นวิตกว่าบุตรหลานของตนนั้นจะสามารถฝ่าข้ามเส้นแบ่งระหว่างคำว่า ได้ กับ ตก หรือไม่
เมื่อผลสอบ หรือผลการเสี่ยงดวงออกมา จึงมีคนส่วนน้อยที่สมหวัง แต่คนส่วนใหญ่ผิดหวัง
สำหรับผู้ที่พลาดหวัง เมื่อต้องอยู่ในฐานะของผู้แพ้ แม้การที่ต้องตกอยู่ในฐานะดังกล่าว อาจไม่ใช่ความผิดอะไร และไม่ใช่ความต่ำต้อยของสติปัญญาเด็ก แต่มาจากความไร้ปัจจัย (เงิน) ที่ทำให้เข้าไปไม่ถึงโอกาสในการฝึกฝนตนเองก่อนเข้าสู่สนามแข่งขันที่เคร่งเครียดและปวดร้าว จริงหรือไม่
ผู้ที่คว้าชัยโดยมากที่สามารถปีนป่ายเหยียบข้ามบ่าคนอื่นเพื่อไปยืน ณ จุดสูงสุดนั้น ก็คือ ผู้ที่ได้เข้าสู่กระบวนการท่องบ่นวิชาอย่างเป็นบ้าเป็นหลัง ติวตั้งแต่เช้ายันค่ำ พร่ำบ่มเพาะการแข่งขันให้เด็กตั้งแต่ชั้นอนุบาล โดยที่ลืมคิดไปว่าจิตวิญญาณก็จำเป็นต้องใส่ลงไปในหัวเขาด้วยเหมือนกัน
เรามี พ.ร.บ.การศึกษาที่มีกลไกตรวจสอบประเมินคุณภาพให้สถานศึกษามีคุณภาพ และมาตรฐานเท่าเทียมกัน
ถามว่า สิ่งนั้นเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ การประเมินของ สมศ. ที่ผ่านไปแล้ว 2 รอบ อะไรคือมรรคผลที่ได้มา นอกจากทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครองยิ่งไม่มั่นใจ ไม่เชื่อในระบบโรงเรียนมากขึ้น จึงหันมาพึ่งพาการติวเข้ม "เกมของคนเหนือคน" ถึงกับเชื่อว่า การติวเท่านั้นที่จะพาบุตรหลานของตนสู่ชัยชนะได้
และกระบวนการนี้คือภาพของความเลวร้ายในโลกที่ "มือใครยาสาวได้สาวเอา" อย่างถึงแก่น ใครมือสั้นก็ถูกเบียดให้ล้มลง และถูกเหยียบทับถมให้จมธรณีในที่สุด
2.การศึกษาสร้างปัญหาให้ผู้เรียนทุกระดับ ทุกๆ เดือนแรกมักได้ยินข่าวนักเรียนที่ประเทศสหรัฐอเมริกาใช้อาวุธปืนกราดยิงผู้อื่นล้มตาย นี่คือผลผลิตจากระบบการศึกษาที่บีบคั้นและเก็บกด เมื่อถึงเวลาหนึ่งที่ไม่อาจอดกลั้นต่อภาวะนั้นต่อไป การแสดงออกจึงรุนแรง และนำมาซึ่งความสูญเสียมากมาย
ที่น่าเป็นห่วงก็คือ สังคมไทยกำลังก้าวก่ายไปบนถนนสายนี้
หลายครั้งที่มีการนำเสนอข่าว เกี่ยวกับพฤติกรรมของนักเรียนที่ไม่พึงประสงค์ นักศึกษาฆ่าตัวเองเพราะไม่สมหวังจากการสอบ
ระบบติวเช้าติวเย็น โอยเอาวิชาเป็นตัวตั้ง ก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมขึ้นอีกมากมาย ทั้งการทุจริตการสอบที่ผู้ปกครองกลายเป็นจำเลยตัว เพราะอยากให้ลูกสอบได้
แม้กระทั่งนักศึกษาชั้นหัวกะทิของประเทศอีกหลายรายได้ใช้วิชาที่เรียนมาทำให้คนรักสาบสูญอย่างไร้ร่องรอยเมื่อเกิดช่องระหว่างกัน
ยังไม่นับนักการเมืองผู้ทรงเกียรติในสภาหลายคนที่ได้ก่อเหตุสั่นสะเทือนวงการแม้จะพร้อมด้วยวัยวุฒิและคุณวุฒิ
นี่คือผลผลิตของการท่องบ่นวิชา เอาปริญญาเป็นตัวตั้ง และนับวันจะสร้างความทุกข์ระทมให้สังคมไทยเป็นทบทวี
3.การศึกษาสร้างปัญหาให้ ครู อาจารย์ ผู้บริหาร เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่บุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความก้าวหน้าในอาชีพมากขึ้น โดยสามารถพัฒนาผลงานก้าวสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น มีวิทยฐานะในระดับต่างๆ เช่น ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ เชี่ยวชาญพิเศษ ในเวลาปีที่ผ่านมา ทำให้ครู ผู้บริหารที่หมกมุ่นอยู่กับกระดาษได้รับการพิจารณาให้เลื่อนวิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ จำนวนมาก
แต่ที่น่าคิด ก็คือความรู้ความสามารถของนักเรียนไม่ได้ก้าวหน้าตามไปพร้อมด้วย
ปัญหาเด็กไทยที่จบ ป.6 อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ คิดไม่เป็นนับวันจะเพิ่มปริมาณมากขึ้น และยังไม่รู้ว่าปัญหาดังกล่าจะคลี่คลายลงอย่างไร
อาจารย์ผู้สอนระดับอุดมศึกษาเอง เมื่อมีตัวชี้วัดจากการประเมินทั้ง กพร., สมศ. ก็พอกระตุ้นให้อาจารย์มีตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มปริมาณขึ้นบ้าง แต่เมื่อพิจารณาเนื้อในแล้ว ปริมาณองค์ความรู้ที่สร้างสรรค์ขึ้นกับจำนวนอาจารย์ที่มีอยู่ เกิดช่องว่างกว้างใหญ่
นั่นแสดงให้เห็นว่าอาจารย์ระดับอุดมศึกษาก็มีปัญหาในตนเอง คือเรียนจบสูง แต่เรียนรู้น้อย ขาดหัวจิตหัวใจ ขาดความทุ่มเทในภารกิจของตน
นี่คือผลสะท้อนหนึ่งในระบบการศึกษาไทย ที่คนชอบเรียนแค่จบกล่าวคือ เมื่อเรียนจบ ก็ไม่คิดอะไรต่อ เมื่อไม่เรียนรู้ ไม่ทำวิจัย ไม่พัฒนาศักยภาพคน ก็อ่อนแอ
เมื่อคนระดับอาจารย์มหาวิทยาลัยที่เป็นขุมคลังทางปัญญาอ่อนแอ ก็ไม่สามารถเป็นปัญญาของสังคมได้ เมื่อเป็นเช่นนี้เราจะก้าวข้ามภูเขาแห่งปัญหาการศึกษาไทยที่หมักหมมมายาวนานเหล่านี้ได้อย่างไร
4.การศึกษาคือปัญหาขององค์กร คนในวงการศึกษามักให้ความสำคัญกับสิ่งที่ไม่ใช่ภารกิจตน เช่น เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารโดยการหลอมรวมโรงเรียนประถม/มัธยมให้อยู่ใต้เงาเดียวกัน คือ สพฐ. ก็เริ่มมีการดูหมิ่นดูแคลนกัน ครูมัธยมที่หลงตนว่าโดยสภาพที่ตั้งของโรงเรียนตนเองอยู่สูงกว่าครูประถม ทั้งที่ครูทั้งสองส่วนควรมีความเชื่อมโยงเอื้ออาทรต่อกัน เพราะจริงๆ แล้ว ไม่มีอะไรมาชี้ว่า ครูมัธยมดีกว่า หรือเก่งกว่าครูประถมมีการรวมกลุ่มเพื่อยื่นหนังสือขอแยกทางกันในการจัดการศึกษา โดยอ้างเหตุผลว่า การอยู่ร่วมกันทำให้คุณภาพมัธยมตกต่ำ
นี่คือปัญหาระดับวิธีคิด สังคมไทยอ่อนแอเพราะความนึกคิดที่แบ่งแยกใช่หรือไม่ เมื่อใดที่เราคิดว่า เราดีกว่าคนอื่น ก็เกิดวามรู้สึกเหยียดหยันเขาไปในตัว
ปัญหานี้จึงไม่ใช่ว่าใครดีกว่าใคร แต่เป็นเรื่องอื่น อาจเป็นเรื่องกิเลสภายใน ที่มักแสดงออกมาเมื่อจะต้องสูญเสียในสิ่งที่ตนเคยได้รับ บางทีคนชั้นครูอาจต้องเสียสละส่วนตนเพื่อให้ส่วนรวมได้ประโยชน์ เพราะเราไม่อาจเป็น "ผู้ได้" ไปตลอดกาล
เมื่อครูยังมีความคิดที่แบ่งแยกอย่างนี้ ความสมานฉันท์ที่เราต่างพากันเรียกหา จะเป็นจริงได้อย่างไร
5.การศึกษาคือปัญหาของสังคม ปัจจุบันมีคนไทยสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาเพิ่มมากขึ้นๆ แต่ขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างสติปัญญากับปัญญาของคนไทยต่ำลงไปมาก มันคงเป็นผลผลิตจากระบบการศึกษาของเราที่ร่วมกันหล่อหลอมขึ้นมา
ผู้บริหารโรงเรียนประถมต้องยอมให้ผู้เรียนที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ผ่านชั้น ป.6 เพราะความกลัวถูกเพ่งเล็งจากผู้บริหารที่อยู่เหนือขึ้นไป ครูเอง แม้จะขัดกับความรู้สึกที่ต้องตอบสนองนโยบายผู้บริหาร
ครูมัธยมก็เริ่มสงสัยครูประถมว่า ทำอะไรกันอยู่ ปล่อยให้เด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้
อาจารย์อุดมศึกษา หากยังไม่รู้ร้อนรู้หนาวกับประเด็นที่ตีคู่มากับโลกร้อน ก็อาจเป็นได้ว่าการศึกษาจะนำพาสังคมไทยสู่ความอ่อนแอลง และยากที่จะกู้กลับมา
จึงหมดเวลาที่จะไปโทษใครคนใดคนหนึ่ง หากว่าไปแล้วเราทุกคนล้วนมีส่วนในการทำลายประเทศชาติมาแล้วทั้งนั้น ดังนั้น ครู-อาจารย์จึงควรต้องมาทบทวนบทบาทของตนเอง ครู-ผู้บริหารโรงเรียนทั้งหลาย ต้องบริหารวิชาการให้เข้มแข็ง ต้องแก้ปัญหาเด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ให้จงได้ อย่ามัวแต่บริหารความก้าวหน้าเฉพาะตนอยู่เลย เราต่างเป็นผู้ที่อาศัยโลก (ประเทศไทย) อยู่ ทุกคนควรสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามทิ้งไว้ก่อนอำลาจากไป
อาจารย์อุดมศึกษาก็ควรต้องฝึกฝนตนเองให้เข้มแข็ง พร้อมส่งความเข้มแข็งสู่ศิษย์ และเกิดการส่งทอดความเข้มแข็งและความดีงามนี้ไปยังคนรุ่นต่อไป
สิ่งที่สำคัญที่สุดต้องช่วยกัน ทำให้การศึกษามีพลังที่จะแก้ปัญหาต่างๆ ได้ทุกสิ่งและจริงจัง เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ผลจะกลับกัน การศึกษาต้องจะเป็นต้นเหตุแห่งปัญหาของสังคมที่จะนำประเทศชาติสู่ความล่มจมในที่สุด
ที่มา - มติชนรายวัน หน้า 5 - วันที่ 04 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11012
ขอบคุณ: วารสารเพื่อการศึกษาและการเรียนรู้บนโลกออนไลน์
โดย บุณย์เสนอ ตรีวิเศรษฐ์
มีการนิยามความหมายของการศึกษาไว้มากมาย เช่น การศึกษา คือ ความเจริญงอกงาม คือกระบวนการกำจัดอวิชาสำหรับมนุษย์ การนำความกระจ่างสู่จิตและทำให้เกิดปัญญาคือการสร้างสมและถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ของมนุษย์เพื่อการแก้ปัญหาและยังให้เกิดความเจริญ เป็นกระบวนการพัฒนาบุคคลทั้งในด้านจิตใจ นิสัย และคุณสมบัติอย่างอื่นๆ เป็นเครื่องมือสำคัญของรับในการสร้างความร่วมมือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของพลเมือง
และนิยามสำคัญที่กล่าวว่า การศึกษา คือรากฐานที่สำคัญที่สุดในการสร้างสรรค์และแก้ไขปัญหาต่างๆ ในสังคม
จากการเฝ้าสังเกต ความเป็นไปของการศึกษาไทยมากว่าทศวรรษ อาจกล่าวได้ว่าภาพที่เป็นจริงกับนิยามของการศึกษา มักเดินสวนทางกันตลอดมา ราวกับว่าการให้นิยามเป็นเพียงความนึกฝัน ที่ไม่มีวันเป็นจริง
ภาพสะท้อนของการศึกษาไทยในปัจจุบัน ยิ่งทำให้เห็นว่าการศึกษาไม่อาจเป็นกระบวนการพัฒนามนุษย์สู่ความเจริญงอกงามและสมดุลได้จริง ทั้งนี้ เพราะเนื้อตัวของการศึกษาเองก็มีปัญหาค่อนข้างมาก
การที่กล่าวว่า การศึกษาเป็นรากฐานในการสร้างสรรค์และแก้ไขปัญหาต่างๆ ในสังคม จึงเป็นเพียงหลักการ แต่ไม่อาจนำมาใช้แก้ไขปัญหาสังคมได้จริง
กล่าวอีกที การศึกษานั่นเองที่เป็นตัวบ่มเพาะปัญหาให้แก่สังคมมากขึ้นๆ ทุกที
การกล่าวเช่นนี้ บางคนอาจมองว่าเป็นการมองโลกในทางร้าย แต่ถ้าพิเคราะห์ให้ดีผลสะท้อนจากการศึกษา ก็มักปรากฏออกมาในทาง ที่เป็นปัญหาจริงๆ
โดยจะขอไล่เรียงอธิบายเป็นข้อๆ ดังนี้
1.การศึกษาสร้างปัญหาให้ผู้ปกครอง จริงหรือไม่ว่า นับวันระบบการศึกษายิ่งสร้างความเจ็บปวดรวดร้าวแก่ผู้ปกครองมากขึ้น
ปรากฏการณ์การรับนักเรียนเข้าเรียน ม.1 ของโรงเรียนที่มีชื่อเสียงทั่วประเทศในช่วงเวลาที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นปัญหาของระบบการศึกษาได้ดี
เราจะเห็นความโกลาหลของผู้ปกครอง ที่อยู่ในอาการหวั่นวิตกว่าบุตรหลานของตนนั้นจะสามารถฝ่าข้ามเส้นแบ่งระหว่างคำว่า ได้ กับ ตก หรือไม่
เมื่อผลสอบ หรือผลการเสี่ยงดวงออกมา จึงมีคนส่วนน้อยที่สมหวัง แต่คนส่วนใหญ่ผิดหวัง
สำหรับผู้ที่พลาดหวัง เมื่อต้องอยู่ในฐานะของผู้แพ้ แม้การที่ต้องตกอยู่ในฐานะดังกล่าว อาจไม่ใช่ความผิดอะไร และไม่ใช่ความต่ำต้อยของสติปัญญาเด็ก แต่มาจากความไร้ปัจจัย (เงิน) ที่ทำให้เข้าไปไม่ถึงโอกาสในการฝึกฝนตนเองก่อนเข้าสู่สนามแข่งขันที่เคร่งเครียดและปวดร้าว จริงหรือไม่
ผู้ที่คว้าชัยโดยมากที่สามารถปีนป่ายเหยียบข้ามบ่าคนอื่นเพื่อไปยืน ณ จุดสูงสุดนั้น ก็คือ ผู้ที่ได้เข้าสู่กระบวนการท่องบ่นวิชาอย่างเป็นบ้าเป็นหลัง ติวตั้งแต่เช้ายันค่ำ พร่ำบ่มเพาะการแข่งขันให้เด็กตั้งแต่ชั้นอนุบาล โดยที่ลืมคิดไปว่าจิตวิญญาณก็จำเป็นต้องใส่ลงไปในหัวเขาด้วยเหมือนกัน
เรามี พ.ร.บ.การศึกษาที่มีกลไกตรวจสอบประเมินคุณภาพให้สถานศึกษามีคุณภาพ และมาตรฐานเท่าเทียมกัน
ถามว่า สิ่งนั้นเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ การประเมินของ สมศ. ที่ผ่านไปแล้ว 2 รอบ อะไรคือมรรคผลที่ได้มา นอกจากทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครองยิ่งไม่มั่นใจ ไม่เชื่อในระบบโรงเรียนมากขึ้น จึงหันมาพึ่งพาการติวเข้ม "เกมของคนเหนือคน" ถึงกับเชื่อว่า การติวเท่านั้นที่จะพาบุตรหลานของตนสู่ชัยชนะได้
และกระบวนการนี้คือภาพของความเลวร้ายในโลกที่ "มือใครยาสาวได้สาวเอา" อย่างถึงแก่น ใครมือสั้นก็ถูกเบียดให้ล้มลง และถูกเหยียบทับถมให้จมธรณีในที่สุด
2.การศึกษาสร้างปัญหาให้ผู้เรียนทุกระดับ ทุกๆ เดือนแรกมักได้ยินข่าวนักเรียนที่ประเทศสหรัฐอเมริกาใช้อาวุธปืนกราดยิงผู้อื่นล้มตาย นี่คือผลผลิตจากระบบการศึกษาที่บีบคั้นและเก็บกด เมื่อถึงเวลาหนึ่งที่ไม่อาจอดกลั้นต่อภาวะนั้นต่อไป การแสดงออกจึงรุนแรง และนำมาซึ่งความสูญเสียมากมาย
ที่น่าเป็นห่วงก็คือ สังคมไทยกำลังก้าวก่ายไปบนถนนสายนี้
หลายครั้งที่มีการนำเสนอข่าว เกี่ยวกับพฤติกรรมของนักเรียนที่ไม่พึงประสงค์ นักศึกษาฆ่าตัวเองเพราะไม่สมหวังจากการสอบ
ระบบติวเช้าติวเย็น โอยเอาวิชาเป็นตัวตั้ง ก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมขึ้นอีกมากมาย ทั้งการทุจริตการสอบที่ผู้ปกครองกลายเป็นจำเลยตัว เพราะอยากให้ลูกสอบได้
แม้กระทั่งนักศึกษาชั้นหัวกะทิของประเทศอีกหลายรายได้ใช้วิชาที่เรียนมาทำให้คนรักสาบสูญอย่างไร้ร่องรอยเมื่อเกิดช่องระหว่างกัน
ยังไม่นับนักการเมืองผู้ทรงเกียรติในสภาหลายคนที่ได้ก่อเหตุสั่นสะเทือนวงการแม้จะพร้อมด้วยวัยวุฒิและคุณวุฒิ
นี่คือผลผลิตของการท่องบ่นวิชา เอาปริญญาเป็นตัวตั้ง และนับวันจะสร้างความทุกข์ระทมให้สังคมไทยเป็นทบทวี
3.การศึกษาสร้างปัญหาให้ ครู อาจารย์ ผู้บริหาร เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่บุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความก้าวหน้าในอาชีพมากขึ้น โดยสามารถพัฒนาผลงานก้าวสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น มีวิทยฐานะในระดับต่างๆ เช่น ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ เชี่ยวชาญพิเศษ ในเวลาปีที่ผ่านมา ทำให้ครู ผู้บริหารที่หมกมุ่นอยู่กับกระดาษได้รับการพิจารณาให้เลื่อนวิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ จำนวนมาก
แต่ที่น่าคิด ก็คือความรู้ความสามารถของนักเรียนไม่ได้ก้าวหน้าตามไปพร้อมด้วย
ปัญหาเด็กไทยที่จบ ป.6 อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ คิดไม่เป็นนับวันจะเพิ่มปริมาณมากขึ้น และยังไม่รู้ว่าปัญหาดังกล่าจะคลี่คลายลงอย่างไร
อาจารย์ผู้สอนระดับอุดมศึกษาเอง เมื่อมีตัวชี้วัดจากการประเมินทั้ง กพร., สมศ. ก็พอกระตุ้นให้อาจารย์มีตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มปริมาณขึ้นบ้าง แต่เมื่อพิจารณาเนื้อในแล้ว ปริมาณองค์ความรู้ที่สร้างสรรค์ขึ้นกับจำนวนอาจารย์ที่มีอยู่ เกิดช่องว่างกว้างใหญ่
นั่นแสดงให้เห็นว่าอาจารย์ระดับอุดมศึกษาก็มีปัญหาในตนเอง คือเรียนจบสูง แต่เรียนรู้น้อย ขาดหัวจิตหัวใจ ขาดความทุ่มเทในภารกิจของตน
นี่คือผลสะท้อนหนึ่งในระบบการศึกษาไทย ที่คนชอบเรียนแค่จบกล่าวคือ เมื่อเรียนจบ ก็ไม่คิดอะไรต่อ เมื่อไม่เรียนรู้ ไม่ทำวิจัย ไม่พัฒนาศักยภาพคน ก็อ่อนแอ
เมื่อคนระดับอาจารย์มหาวิทยาลัยที่เป็นขุมคลังทางปัญญาอ่อนแอ ก็ไม่สามารถเป็นปัญญาของสังคมได้ เมื่อเป็นเช่นนี้เราจะก้าวข้ามภูเขาแห่งปัญหาการศึกษาไทยที่หมักหมมมายาวนานเหล่านี้ได้อย่างไร
4.การศึกษาคือปัญหาขององค์กร คนในวงการศึกษามักให้ความสำคัญกับสิ่งที่ไม่ใช่ภารกิจตน เช่น เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารโดยการหลอมรวมโรงเรียนประถม/มัธยมให้อยู่ใต้เงาเดียวกัน คือ สพฐ. ก็เริ่มมีการดูหมิ่นดูแคลนกัน ครูมัธยมที่หลงตนว่าโดยสภาพที่ตั้งของโรงเรียนตนเองอยู่สูงกว่าครูประถม ทั้งที่ครูทั้งสองส่วนควรมีความเชื่อมโยงเอื้ออาทรต่อกัน เพราะจริงๆ แล้ว ไม่มีอะไรมาชี้ว่า ครูมัธยมดีกว่า หรือเก่งกว่าครูประถมมีการรวมกลุ่มเพื่อยื่นหนังสือขอแยกทางกันในการจัดการศึกษา โดยอ้างเหตุผลว่า การอยู่ร่วมกันทำให้คุณภาพมัธยมตกต่ำ
นี่คือปัญหาระดับวิธีคิด สังคมไทยอ่อนแอเพราะความนึกคิดที่แบ่งแยกใช่หรือไม่ เมื่อใดที่เราคิดว่า เราดีกว่าคนอื่น ก็เกิดวามรู้สึกเหยียดหยันเขาไปในตัว
ปัญหานี้จึงไม่ใช่ว่าใครดีกว่าใคร แต่เป็นเรื่องอื่น อาจเป็นเรื่องกิเลสภายใน ที่มักแสดงออกมาเมื่อจะต้องสูญเสียในสิ่งที่ตนเคยได้รับ บางทีคนชั้นครูอาจต้องเสียสละส่วนตนเพื่อให้ส่วนรวมได้ประโยชน์ เพราะเราไม่อาจเป็น "ผู้ได้" ไปตลอดกาล
เมื่อครูยังมีความคิดที่แบ่งแยกอย่างนี้ ความสมานฉันท์ที่เราต่างพากันเรียกหา จะเป็นจริงได้อย่างไร
5.การศึกษาคือปัญหาของสังคม ปัจจุบันมีคนไทยสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาเพิ่มมากขึ้นๆ แต่ขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างสติปัญญากับปัญญาของคนไทยต่ำลงไปมาก มันคงเป็นผลผลิตจากระบบการศึกษาของเราที่ร่วมกันหล่อหลอมขึ้นมา
ผู้บริหารโรงเรียนประถมต้องยอมให้ผู้เรียนที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ผ่านชั้น ป.6 เพราะความกลัวถูกเพ่งเล็งจากผู้บริหารที่อยู่เหนือขึ้นไป ครูเอง แม้จะขัดกับความรู้สึกที่ต้องตอบสนองนโยบายผู้บริหาร
ครูมัธยมก็เริ่มสงสัยครูประถมว่า ทำอะไรกันอยู่ ปล่อยให้เด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้
อาจารย์อุดมศึกษา หากยังไม่รู้ร้อนรู้หนาวกับประเด็นที่ตีคู่มากับโลกร้อน ก็อาจเป็นได้ว่าการศึกษาจะนำพาสังคมไทยสู่ความอ่อนแอลง และยากที่จะกู้กลับมา
จึงหมดเวลาที่จะไปโทษใครคนใดคนหนึ่ง หากว่าไปแล้วเราทุกคนล้วนมีส่วนในการทำลายประเทศชาติมาแล้วทั้งนั้น ดังนั้น ครู-อาจารย์จึงควรต้องมาทบทวนบทบาทของตนเอง ครู-ผู้บริหารโรงเรียนทั้งหลาย ต้องบริหารวิชาการให้เข้มแข็ง ต้องแก้ปัญหาเด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ให้จงได้ อย่ามัวแต่บริหารความก้าวหน้าเฉพาะตนอยู่เลย เราต่างเป็นผู้ที่อาศัยโลก (ประเทศไทย) อยู่ ทุกคนควรสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามทิ้งไว้ก่อนอำลาจากไป
อาจารย์อุดมศึกษาก็ควรต้องฝึกฝนตนเองให้เข้มแข็ง พร้อมส่งความเข้มแข็งสู่ศิษย์ และเกิดการส่งทอดความเข้มแข็งและความดีงามนี้ไปยังคนรุ่นต่อไป
สิ่งที่สำคัญที่สุดต้องช่วยกัน ทำให้การศึกษามีพลังที่จะแก้ปัญหาต่างๆ ได้ทุกสิ่งและจริงจัง เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ผลจะกลับกัน การศึกษาต้องจะเป็นต้นเหตุแห่งปัญหาของสังคมที่จะนำประเทศชาติสู่ความล่มจมในที่สุด
ที่มา - มติชนรายวัน หน้า 5 - วันที่ 04 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11012
ขอบคุณ: วารสารเพื่อการศึกษาและการเรียนรู้บนโลกออนไลน์
บทความ
ความหมายของเทคโนโลยี
คำว่า เทคโนโลยี ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "Technology" ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า "Technologia" แปลว่า การกระทำที่มีระบบ อย่างไรก็ตามคำว่า เทคโนโลยี มักนิยมใช้ควบคู่กับคำว่า วิทยาศาสตร์ โดยเรียกรวม ๆ ว่า "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ซึ่งพจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน (2539 : 406) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยี คือ วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม นอกจากนั้นยังมีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย ดังนี้ คือ
ผดุงยศ ดวงมาลา (2523 : 16) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม คือ หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม
สิปปนนท์ เกตุทัต (ม.ป.ป. 81) อธิบายว่า เทคโนโลยี คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ มาผสมผสานประยุกต์ เพื่อสนองเป้าหมายเฉพาะตามความต้องการของมนุษย์ด้วยการนำทรัพยากรต่าง ๆ มาใช้ในการผลิตและจำหน่ายให้ต่อเนื่องตลอดทั้งกระบวนการ เทคโนโลยีจึงมักจะมีคุณประโยชน์และเหมาะสมเฉพาะเวลาและสถานที่ และหากเทคโนโลยีนั้นสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีนั้นจะเกื้อกูลเป็นประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและส่วนรวม หากไม่สอดคล้องเทคโนโลยี นั้น ๆ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามหาศาล
ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์ (2531 : 170) กล่าวว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิธีการ และความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูง โดยปกติเทคโนโลยีนั้นมีความรู้วิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย นั้นคือวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงมักนิยมใช้สองคำด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเน้นให้เข้าใจว่า ทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไปจึงจะมีประสิทธิภาพสูง
ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์ (2534 : 5) ได้ให้ความหมายสั้น ๆ ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการประกอบวัตถุเป็นอุตสาหกรรม หรือวิชาช่างอุตสาหกรรม หรือการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางปฏิบัติจากการที่มีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย สรุปได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่นำเอาวิทยาการทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ตามความต้องการของมนุษย์ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีเป็นภาษาง่าย ๆ ว่า หมายถึง การรู้จักนำมาทำให้เป็นประโยชน์นั่นเอง (เย็นใจ เลาหวณิช. 2530 : 67)
คำว่า เทคโนโลยี ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "Technology" ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า "Technologia" แปลว่า การกระทำที่มีระบบ อย่างไรก็ตามคำว่า เทคโนโลยี มักนิยมใช้ควบคู่กับคำว่า วิทยาศาสตร์ โดยเรียกรวม ๆ ว่า "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ซึ่งพจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน (2539 : 406) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยี คือ วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม นอกจากนั้นยังมีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย ดังนี้ คือ
ผดุงยศ ดวงมาลา (2523 : 16) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม คือ หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม
สิปปนนท์ เกตุทัต (ม.ป.ป. 81) อธิบายว่า เทคโนโลยี คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ มาผสมผสานประยุกต์ เพื่อสนองเป้าหมายเฉพาะตามความต้องการของมนุษย์ด้วยการนำทรัพยากรต่าง ๆ มาใช้ในการผลิตและจำหน่ายให้ต่อเนื่องตลอดทั้งกระบวนการ เทคโนโลยีจึงมักจะมีคุณประโยชน์และเหมาะสมเฉพาะเวลาและสถานที่ และหากเทคโนโลยีนั้นสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีนั้นจะเกื้อกูลเป็นประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและส่วนรวม หากไม่สอดคล้องเทคโนโลยี นั้น ๆ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามหาศาล
ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์ (2531 : 170) กล่าวว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิธีการ และความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูง โดยปกติเทคโนโลยีนั้นมีความรู้วิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย นั้นคือวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงมักนิยมใช้สองคำด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเน้นให้เข้าใจว่า ทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไปจึงจะมีประสิทธิภาพสูง
ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์ (2534 : 5) ได้ให้ความหมายสั้น ๆ ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการประกอบวัตถุเป็นอุตสาหกรรม หรือวิชาช่างอุตสาหกรรม หรือการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางปฏิบัติจากการที่มีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย สรุปได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่นำเอาวิทยาการทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ตามความต้องการของมนุษย์ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีเป็นภาษาง่าย ๆ ว่า หมายถึง การรู้จักนำมาทำให้เป็นประโยชน์นั่นเอง (เย็นใจ เลาหวณิช. 2530 : 67)